ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (6 มิถุนายน 2555)

วรเชษฐ์ บุญปลอด 13 พฤษภาคม 2555 ช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง มีโอกาสสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง วันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2547 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ได้เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 122 ปี เห็นได้ในประเทศไทยระหว่างเวลาประมาณ 12:13 – 18:21 น. วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ให้เห็นได้ในประเทศไทยอีกครั้ง และนับเป็นครั้งสุดท้ายในศตวรรษนี้ (ทั้งพุทธศตวรรษที่ 26 และคริสต์ศตวรรษที่ 21) หลังจากครั้งนี้ คู่ถัดไปจะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2660 (ค.ศ. 2117) และ พ.ศ. 2668 (ค.ศ. 2125) ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ วันที่ 8

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554   รูปที่ 1 ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง (http://www.fishingfury.com/20101220/look-up-rare-total-lunar-eclipse-tonight/)   ในคืนวันที่ 15 ถึงเช้ามืดของวันที่ 16 มิถุนายน 2554 นับเป็นครั้งแรกของปี ที่จะได้เห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง โดยดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดเวลา 01:22:37 น. และดวงจันทร์เข้าสู่ช่วงคลาสเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02:22:11 น. ถึง 04:03:22 น. ซึ่งเราจะได้เห็นดวงจันทร์สีแดงอิฐอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 30 องศา (สังเกตการณ์จากจังหวัดเชียงใหม่) นอกจากนี้หากท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆมากนัก ประกอบกับตำแหน่งที่สังเกตการณ์อยู่ห่างจากตัวเมือง และไม่มีแสงไฟรบกวน ก็จะมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง จันทรุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลาเต็มดวงยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 40 นาที 52 วินาที จันทรุปราคาเต็มดวงที่เคยเกิดขึ้นนานที่สุดคือวันที่ 16 กรกฎาคม2543 ซึ่งยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 47 นาที 00 วินาที และหลังจากปี 2554 จันทรุปราคาเต็มดวงที่มีระยะเวลามืดเต็มดวงนานเกิน 100 นาที จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ซึ่งสามารถเห็นได้ในประเทศไทยอีกเช่นกัน   รูปที่ 2 แผนที่แสดงการเกิดจันทรุปราคาในบริเวณต่าง ๆ   บริเวณที่สามารถสังเกตุปรากฏการณ์นี้ได้ตลอดช่วงการเกิดปรากฏการณ์ได้แก่ ทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอชียกลาง ส่วนทางทวีปอเมริกาใต้ และทวีปยุโรป จะเห็นปรากฏการณ์นี้ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในทิศตะวันออก และสุดท้ายทวีปเอเชียใต้  ประเทศออสเตรเลีย และประเทศฟิลิปปินส์ สามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในทิศตะวันตก จะสามารถสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้เฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น   รูปที่ 3 แสดงขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา   ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา วันที่ 16 มิถุนายน 2554 (โดยดวงจันทร์จะโคจรผ่านเงาของโลกจากขวาไปซ้าย ตามรูปที่ 2)     ขั้นตอนการเกิดปรากฏการณ์     เวลา P1 ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 00:23:05 น. U1 เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 01:22:37 น. U2 เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 02:22:11 น. Greatest กลางคลาส 03:12:37 น. U3 สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 04:03:22 น. U4 สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 05:02:35 น. P4 ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 06:02:15 น.

19 มี.ค.ดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุด

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาในเรื่องการโคจรของดวงจันทร์ ระบุว่าในวันที่ 19 มีนาคมนี้ ดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลก หรือที่เรียกว่า “lunar perigee” เพียง 221,567 ไมล์ นับเป็นการโคจรที่ใกล้โลกมาที่สุดในรอบ 18ปี ทั้งนี้ เชื่อว่าจะเกิดผลกระทบกับโลกเช่น แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟ และระดับน้ำทะเลที่อาจก่อให้เกิดคลื่นสึนามิได้ บรรยากาศโลกจะเปลี่ยน โดยพวกเขาเรียกมันว่า “ซุปเปอร์มูน” ก่อนหน้านี้ปรากฏการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นในปี 1955, 1974, 1992, และ 2005 และทุกครั้งที่มันเกิด จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศบนโลก เช่น การเกิดสึนามิ ที่คร่าชีวิตถึงไปหลายแสนคนในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทย  เพียงสองสัปดาห์ก่อนเกิดซุปเปอร์มูนในเดือน มกราคมปี 2005 สองสัปดาห์ก่อนเกิดซุปเปอร์มูนในเดือน มกราคมปี 2005 เกิดสึนามิในเมืองอาเจะ ประเทศอินโดนีเซีย นักวิทยาศาสตร์บางส่วนกล่าวว่า มันได้ได้มีความเกี่ยวโยงกัน แต่อาจจะเกิดเพียงแค่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดเท่านั้น ข่าวโดย : Mthai news