Category: ข่าวดาราศาสตร์

ดาวหางเฉียดโลกระยะเผาขน 3.4 ล้านกิโลเมตร

ในคืนวันที่ 22 มีนาคม 2559 เวลาประมาณ 23:00 น. ดาวหางแพนสตารส์ (P/2016 BA14) จะโคจรเข้ามาเฉียดใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 3.4 ล้านกิโลเมตร นับเป็นดาวหางที่โคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 246 ปี ช่วงที่ดาวหางดวงนี้เฉียดเข้าใกล้โลกที่สุด จะปรากฏบริเวณกลุ่มดาวหมีใหญ่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าความสว่างปรากฏแมกนิจูด 12 ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า (ความสว่างปรากฏที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้มีค่าต่ำกว่าแมกนิจูด 6) เตรียมใช้กล้องโทรทรรศน์ที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติในโครงการเฝ้าระวังวัตถุจากนอกโลก ติดตามเก็บข้อมูลและสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด แหล่งที่มา คัดลอกจาก ประชาชาติธุรกิจ

ขนาดของดวงดาวเมื่อเปรียบเทียบกันจะเป็นยังไงนะ

The biggest stars in the universe มาดูกันว่าขนาดของดวงดาวแต่ละดวงนั้น จะใหญ่โตมโหฬารสักแค่ไหนกัน ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=HEheh1BH34Q

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (6 มิถุนายน 2555)

วรเชษฐ์ บุญปลอด 13 พฤษภาคม 2555 ช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง มีโอกาสสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง วันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2547 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ได้เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 122 ปี เห็นได้ในประเทศไทยระหว่างเวลาประมาณ 12:13 – 18:21 น. วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ให้เห็นได้ในประเทศไทยอีกครั้ง และนับเป็นครั้งสุดท้ายในศตวรรษนี้ (ทั้งพุทธศตวรรษที่ 26 และคริสต์ศตวรรษที่ 21) หลังจากครั้งนี้ คู่ถัดไปจะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2660 (ค.ศ. 2117) และ พ.ศ. 2668 (ค.ศ. 2125) ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ วันที่ 8

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 16 มิถุนายน 2554   รูปที่ 1 ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง (http://www.fishingfury.com/20101220/look-up-rare-total-lunar-eclipse-tonight/)   ในคืนวันที่ 15 ถึงเช้ามืดของวันที่ 16 มิถุนายน 2554 นับเป็นครั้งแรกของปี ที่จะได้เห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง โดยดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามืดเวลา 01:22:37 น. และดวงจันทร์เข้าสู่ช่วงคลาสเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02:22:11 น. ถึง 04:03:22 น. ซึ่งเราจะได้เห็นดวงจันทร์สีแดงอิฐอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 30 องศา (สังเกตการณ์จากจังหวัดเชียงใหม่) นอกจากนี้หากท้องฟ้าดี ไม่มีเมฆมากนัก ประกอบกับตำแหน่งที่สังเกตการณ์อยู่ห่างจากตัวเมือง และไม่มีแสงไฟรบกวน ก็จะมีโอกาสเห็นทางช้างเผือกในคืนวันเพ็ญขณะที่ดวงจันทร์ถูกเงาโลกบดบังทั้งดวง จันทรุปราคาครั้งนี้มีระยะเวลาเต็มดวงยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 40 นาที 52 วินาที จันทรุปราคาเต็มดวงที่เคยเกิดขึ้นนานที่สุดคือวันที่ 16 กรกฎาคม2543 ซึ่งยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 47 นาที 00 วินาที และหลังจากปี 2554 จันทรุปราคาเต็มดวงที่มีระยะเวลามืดเต็มดวงนานเกิน 100 นาที จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ซึ่งสามารถเห็นได้ในประเทศไทยอีกเช่นกัน   รูปที่ 2 แผนที่แสดงการเกิดจันทรุปราคาในบริเวณต่าง ๆ   บริเวณที่สามารถสังเกตุปรากฏการณ์นี้ได้ตลอดช่วงการเกิดปรากฏการณ์ได้แก่ ทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอชียกลาง ส่วนทางทวีปอเมริกาใต้ และทวีปยุโรป จะเห็นปรากฏการณ์นี้ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในทิศตะวันออก และสุดท้ายทวีปเอเชียใต้  ประเทศออสเตรเลีย และประเทศฟิลิปปินส์ สามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ในขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในทิศตะวันตก จะสามารถสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้เฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น   รูปที่ 3 แสดงขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา   ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา วันที่ 16 มิถุนายน 2554 (โดยดวงจันทร์จะโคจรผ่านเงาของโลกจากขวาไปซ้าย ตามรูปที่ 2)     ขั้นตอนการเกิดปรากฏการณ์     เวลา P1 ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 00:23:05 น. U1 เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 01:22:37 น. U2 เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 02:22:11 น. Greatest กลางคลาส 03:12:37 น. U3 สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 04:03:22 น. U4 สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 05:02:35 น. P4 ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 06:02:15 น.